ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอีกระบบหนึ่งที่ใช้พลังงานทดแทน โดยมีหลักง่ายๆคือนำน้ำมาตากแดด แสงแดดจากดวงอาทิตย์ จะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 60-70 องศาเซลเซียส น้ำร้อนที่ได้นี้อาจจะนำไปใช้ได้หลายอย่าง หากจะนำไปใช้ในการอาบต้องนำน้ำอุณหภูมิธรรมดามาผสมสัดส่วน 50:50 หากนำน้ำร้อนที่ได้ไปใช้เพื่อซักล้างอาจจะต้องใช้อุณหภูมิน้ำไม่น้อยกว่า 60 องศาเซลเซียสก็ไม่ต้องผสมกับน้ำสามารถนำไปใช้ได้เลย ทางเอ็นจินีโอ ได้รับโจทย์ในการออกแบบ และติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนเพื่อนำไปใช้กับระบบอุ่นน้ำป้อนของระบบผลิตไอน้ำ(Steam boiler) ของโรงพยาบาลลำพูน โดยปรกติน้ำร้อนที่ป้อนเข้าสู่ระบบผลิตไอน้ำจะใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าจากน้ำอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสให้เพิ่มขึ้นเป็น 60 องศาเซลเซียส ในขั้นตอนนี้จะทำให้สูญเสียการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 6000 วัตต์ต่อชั่วโมง หากใช้เครื่องผลิตไอน้ำ 24 ชั่วโมง จะทำให้เสียเงินค่าไฟฟ้าในส่วนนี้ถึงวันละ 720 บาท ดังนั้นจึงได้ออกแบบระบบผลิตน้ำร้อนโดยใช้แสงแดดเพื่อนำน้ำร้อนมาใช้กับระบบอุ่นน้ำป้อนนี้ เริ่มต้นจากการคำนวณออกแบบระบบน้ำร้อนให้สามารถผลิตน้ำร้อนได้ตามที่ต้องการ จากการคำนวณพบว่าควรใช้แผงรับแสงโซล่าเซลล์จำนวน 66 แผง แต่ละแผงมีขนาดพื้นที่รับรังสีของดวงอาทิตย์ 2 ตารางเมตร เป็นชนิดแบบแผนเรียบ และได้ออกแบบระบบดังไดอะแกรมด้านล่าง
ี้
ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับระบบอุ่นน้ำป้อนให้กับ Steam boiler
จากไดอะแกรมด้านบนจะเห็นว่ามีอุปกรณ์เชื่อมต่อหลักคือ 1). แผงรับรังสีแสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็นชุดๆ 13 ชุด จำนวนชุดละ 6 แผง โดยแต่ละชุดมีอุปกรณ์สำคัญ 2 อันคือ แอร์วาล์ว ทำหน้าที่ไล่อากาศภายในท่อออก และ วาล์ว Temp&Pressure เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันเมื่ออุณหภูมิและความดันภายในท่อเกินกำหนด น้ำร้อนจะถูกไล่ออกผ่านวาล์วนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านแผงรับความร้อนนี้ จะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงทำให้ท่อที่ใช้ในการเดินระบบต้องใช้ท่อที่ผลิตจากทองแดง เนื่องจากท่อทองแดงจะสามารถทนความร้อนและการกัดกร่อนได้ดี แต่ท่อทองแดงก็จะมีราคาสูง โดยด้านนอกของท่อจำเป็นต้องมีฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำร้อนไว้ จะทำให้ระบบทำงานได้มีประสิทธิภาพ น้ำร้อนที่ได้จะถูกไปกักเก็บไว้ใน 2) ถังเก็บน้ำร้อนเป็นถังน้ำที่ทำจากแสตนเลส ถังน้ำนี้ต้องมีฉนวนกันความร้อน จะทำให้รักษาอุณหภูมิน้ำร้อนได้ ในระบบต้องมี 3) ปั้มน้ำหมุนเวียนน้ำร้อนโดยปั้มน้ำนี้จะต้องเป็นปั้มที่ออกแบบสำหรับใช้กับระบบน้ำร้อนโดยจำเพาะ เพราะบางครั้งอุณหภูมิของน้ำร้อนอาจจะสูงถึง 100 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว 4) ชุดควบคุมปั้มน้ำร้อน อุปกรณ์นี้สำคัญกับระบบมาก เนื่องจากจะเป็นอุปกรณ์คอยวัดและตรวจสอบการทำงานของระบบ เมื่อน้ำร้อนภายในระบบมีอุณหภูมิลดลง เครื่องควบคุมจะไปสั่งให้ปั้มน้ำร้อนทำงาน และเมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนเพิ่มขึ้นจนเกินกำหนดเครื่องควบคุมจะสั่งปั้มน้ำให้หยุดการทำงาน 5) ระบบเสริมพิเศา กล่าวคือเพื่อความสะดวกทางเราจึงออกแบบระบบให้สามารถเก็บข้อมูลน้ำร้อนและการใช้พลังงานไว้ในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลที่ได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป อีกทั้งสามารถดูข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย จึงทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบระบบยิ่งขึ้น จากที่กล่าวเป็นการทำงานของระบบเบื้องต้น ทางเอ็นจินีโอ นำภาพส่วนหนึ่งของการทำงานมาให้ทางแฟนๆ ของเอ็นจินีโอได้ชมกัน

หลังจากรูปแบบชัดเจน จึงเริ่มทำการเชื่อมโครงสร้างรองรับแผงน้ำร้อน (solar collertor) ซึ่งออกแบบยกสูงจากพื้น 250 เซ็นติเมตร
เมื่อเชื่อมโครงสร้างเสร็จ นำไปติดตั้งพื้นที่ ตำแหน่งที่เหมาะสม

โครงสร้างที่ออกแบบและสร้างได้เริ่มนำมาประกอบ

วางแนวติดตั้งโครงสร้างรองรับแผง

ไม่กี่วันโครงสร้างที่เตรียมมาก็ถูกประเข้าด้วยกัน

เชื่อมแข็งพร้อมเก็บรายละเอียด
พร้อมแล้วที่จะติดตั้งแผงรับรังสี

แผงรับรังสีพร้อม
เริ่มจากวาางแนว เป็นชุดๆ
ี
แผงรับรังสีถูกนำมาวางตามที่ได้ออกแบบไว้

เมื่อวางแผงเรียบร้อยแล้ว เดินท่อทองแดงเชื่อมต่อระบบ

ท่อทองแดงถูกหุ้มฉนวนด้านนอกอีกครั้ง

ถังน้ำร้อน 4000 ลิตรได้ถูกติดตั้งด้านข้างของชุดรับรังสีดวงอาทิตย์

ระบบมอนิเตอร์ พร้อมเก็บข้อมูลของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ เขียนโปรแกรมขึ้นโดยทีมงานของเอ็นจินีโอ

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลลำพูน พลังงานจังหวัดลำพูน กระทรวงพลังงาน และศูนย์วิจัยพลังงาน ETE มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้โอกาสเอ็นจินีโอ ติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นี้

ระบบยังสามารถดูผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้อีกด้วย
ระบบดังกล่าวข้างต้นสามารถทำงานได้ดี ได้น้ำร้อนฟรีจากธรรมชาติ ระบบไม่ค่อยมีความซับซ้อนมากนัก สามารถติดตั้งได้โดยไม่ยาก เรารู้จักใช้พลังงานที่มีอยู่ให้คุ้มค่า มีปัญหาแวะมาปรึกษาเราที่ เอ็นจินีโอ ที่นี่มีคำตอบ
เอ็นจินีโอ มุ่งเน้นคุณภาพงาน ออกแบบและติดตั้งเพื่อให้ได้สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด เราใส่ใจทุกรายละเอียด ดูแลท่านให้สมกับที่ท่านไว้ใจเรา
เอ็นจินีโอของขอบคุณ ทุกท่านที่ให้โอกาสเรามา ณ โอกาสนี้